ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รู้จักเสือขาวเบงกอล

สำหรับเสือขาวตัวแรกที่มนุษย์พบนั้นถูกจับได้จากป่า Rewa ในประเทศอินเดีย เมื่อ 50 ปีมาแล้ว (พ.ศ.2494) โดยแม่ของเสือขาวถูกฆ่าตาย Maharaja Shri Martand Singh จึงทรงนำลูกเสือขาวเพศผู้นี้มาเลี้ยงไว้ พร้อมประทานชื่อว่า โมฮัน และให้ขยายพันธุ์กับเสือโคร่งที่มีสีธรรมดาเพศเมีย ได้ลูก 3 ตัว เป็นสีส้มเหมือนแม่ทั้งหมด ต่อมาจึงเอาลูกเพศเมียมาผสมพันธุ์กับโมฮันอีกทีหนึ่ง จึงได้ลูกเสือสีขาวออกมาทั้งหมด 4 ตัว
เสือขาวไม่ใช่เสือเผือก เพราะเสือเผือกจะต้องไม่มีสีใด ๆ นอกจากสีขาว ขณะที่เสือขาวมีขนสีขาวคาดดำหรือน้ำตาล มีตาสีฟ้า ซึ่งเสือเผือกจะมีตาเป็นสีแดง ส่วนจุดเด่นอื่นของเสือขาว คือ มีจมูกและฝ่าเท้าสีชมพู ความจริงเสือขาวก็คือเสือโคร่งเบงกอลที่มียีนส์ขนสีขาวแทนสีส้มนั่นเอง
ในสภาพการเพาะเลี้ยงเสือขาวอาจมีอายุยืนถึง 20 ปี จะตกลูกครั้งละ 3-4 ตัว ลูกของเสือขาวที่มีขนสีเหลืองเรียกว่า พันธุ์ทาง จะมีพันธุกรรมของเสือขาวอยู่ในเลือด ลูกรุ่นต่อมาจึงมีโอกาสเป็นสีขาวได้ ซึ่ง 1 ในเสือ 6 ตัวที่มาจากสหรัฐฯ ก็เป็นเสือขาวพันธุ์ทางเช่นกัน

ชาวป่าอินเดียเชื่อว่าเสือโคร่งสีขาวเป็นพญาเสือและเป็นเทพเจ้าผู้ทรงพลัง ดังนั้น จึงนิยมล่าเอาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเสือขาว เช่น หนวด หนังหน้าผาก หลังส่วนไหล่ (เพื่อนำมาเป็นผ้าคลุมไหล่ของหัวหน้าเผ่า) เล็บ เขี้ยว หาง มาเป็นเครื่องรางของขลัง จนเป็นสาเหตุให้เสือขาวเกือบสูญพันธุ์ในที่สุด
 
เสือขาวในประเทศไทย เสือขาวในประเทศไทยเป็นสัตว์ป่านำเข้าของสวนสัตว์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเสือขาวนี้จะจัดแสดงในสวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์ดุสิต และสวนสัตว์ในประเทศไทยอื่นๆ เช่น เชียงใหม่ ไนท์ซาฟารี ซาฟารีเวิลด์  เป็นต้น

ข้อมูลการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
 อาณาจักร    Animalia
ไฟลัม           Chordata
ชั้น               Mammalia
อันดับ          Carnivora
วงศ์             Feridae
สกุล             Panthera
สปีชีส์         P. tigris
สปีชีส์ย่อย   P.t. tigris

รูปภาพ  เสือขาวเบงกอล
รูปภาพ  เสือขาวเบงกอลใต้น้ำ





เนื้อหาข้อมูลและรูปภาพจาก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น